เมนู

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีความ
สำคัญว่า ถูกธรรมยังสงฆ์ให้แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่าทำอนันตริยกรรม.
[1813] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความสำคัญว่า ถูกธรรม
ยังสงฆ์ให้แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภท
เป็นผู้จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ เขาเป็นผู้ยินดี
ในการแยก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมคลาดจากธรรมเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ เขาทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัลป์

ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ทำสังฆเภท ก็เป็นผู้ชื่อว่า ทำ
อนันตริยกรรม น่ะสิ.
อสัญจิจจกถา จบ

อรรถกถาอสัญจิจจกถา



ว่าด้วย อสัญจิจจะ



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอสัญจิจจะไม่แกล้ง คือไม่เจตนา. ในเรื่องนั้น ชน
เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า " ขึ้นชื่อ
ว่าอนันตริยวัตถุเป็นของหนักเป็นของใหญ่ เพราะฉะนั้น แม้ในวัตถุ

1. วิ.จุ 7/411.

ทั้งหลายเหล่านั้น อันผู้ใดทำให้เกิดแล้ว แม้โดยไม่ตั้งใจก็ย่อมเป็นอนันตริกรรม
ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นต้น
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง ด้วยสามารถแห่งลัทธิเป็นของปรวาที.
ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง เป็นต้น
เพื่อท้วงว่า ขึ้นชื่อว่าอนันตริยกรรมเป็นกัมมบถ ถ้าว่าบุคคลไม่จงใจ
ฆ่าสัตว์พึงเป็นประเภทกัมมบถไซร้ กรรมทั้งหลายที่เหลือแม้มีปาณาติบาต
เป็นต้น ก็พึงเป็นกรรมไม่จงใจ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความไม่มี
ในลัทธิเช่นนั้น. คำที่เหลือพึงทราบตามพระบาลี.
คำถามว่า ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นผู้ชื่อว่าทำ
อนันตริยธรรมหรือ
เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองของสกวาทีหมาย
เอาการฆ่าโดยไม่มีเจตนาในกาลที่ทำการเยียวยารักษาโรคเป็นต้น.
แม้ในปัญหาว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้วมิใช่หรือ คำตอบรับรอง
สกวาทีนั้นนั่นแหละ โดยหมายเอาการปลงชีวิตลงโดยไม่มีเจตนา. ก็
ปรวาทีไม่ถือเอาคำอธิบายอย่างนี้ จึงให้ลัทธิของตนตั้งอยู่ด้วยคำว่า
หากว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้ว ดังนี้ แต่การตั้งลัทธินั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะไม่ตั้งไว้โดยอุบายอันแยบคาย. แม้ปิตุฆาตเป็นต้น ก็นัยนี้
นั่นแล.
คำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภท1 เป็นผู้ชื่อว่าทำ

1. คำว่า "สังฆเภท" แปลว่าการแยกสงฆ์ เพราะมีคำว่า ผู้มีความสำคัญในธรรมอันนี้ จัดเป็นประเภท
ก็ดีก็ได้ เช่นพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระปราบเดียรถีย์ทั้งหลายที่มาปลอมบวชในพระศาสนา หรือจะ
เรียกว่า เป็นธรรมวาทีนี้เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม แต่ไม่ตกอุบาย ส่วนสังฆเภท คือการ
แยกสงฆ์ของพระเทวทัตต์นั้น เป็นอธัมมาวาทีจัดเป็นสังฆเภทด้วย เป็นอนันตริยกรรมด้วย ตกนรกด้วย.

อนันตริยกรรมหรือ โดยหมายเอาผู้มีความสำคัญในธรรมในการแยก
สงฆ์. คำตอบรับรองของปรวาทีเพราะถือเอาพระบาลีว่า บุคคลย่อมไหม้
อยู่ในนรกตลอดกัลป์ เพราะทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ โดยไม่
พิจารณา. ถูกถามอีกว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภทเป็นผู้ชื่อว่าทำอนันตริยกรรม
ทั้งหมดหรือ
ปรวาทีตอบปฏิเสธโดยหมายเอาบุคคลผู้มีความสำคัญ
ในธรรมอันเป็นฝ่ายของตน. ย่อมตอบรับรองโดยหมายเอาบุคคลผู้มี
ความสำคัญในธรรมอันเป็นฝ่ายอื่น. แม้ใน 2 ปัญหาว่า ธัมมสัญญี คือ
บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญว่าถูกธรรม
ก็นัยนี้นั่นแหละ.
พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี
บุคคลผู้ทำสังฆเภท...มิใช่หรือ
ดังนี้ สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่งความที่
บุคคลผู้เป็นธัมมวาทีเป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรมโดยส่วนเดียวเท่านั้น
ไม่ตกอบาย. อนึ่ง อธัมมวาทีนั่นแหละพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ
ประสงค์เอาในคาถาว่า จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรกตั้งอยู่ตลอดกัลป์
ดังนี้. แต่ปรวาทีไม่ถือเอาคำอธิบายนี้ จึงให้ลัทธิตั้งไว้. ลัทธินั้นชื่อว่า
ตั้งอยู่ไม่ได้เลยเพราะไม่ตั้งอยู่โดยอุบายอันแยบคาย ดังนี้แล.
อรรถกถาอสัญจิจจกถา จบ

ญาณกถา



[1814] สกวาที ญาณไม่มีแก่ปุถุชนหรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความ
วิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด
เฉพาะ ไม่มีแก่ปุถุชน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไป
กำหนดรู้เฉพาะ ของปุถุชน มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความ
เข้าไปกำหนดเฉพาะ ของปุถุชน มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ญาณไม่มีแก่
ปุถุชน.
[1815] ส. ญาณไม่มีแก่ปุถุชน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า
ญาณไม่มีแก่ปุถุชน.
[1816] ส. ปุถุชนพึงเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
ฯลฯ พึงเข้าอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญาสัญายตนะ ปุถุชนพึงให้ทาน ฯลฯ พึงให้จีวร ฯลฯ พึงให้